วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

หมู่บ้านมรดกโลกชิราคาวะ


ทัวร์ญี่ปุ่น ชิราคาวาโกะ

ทัวร์ญี่ปุ่น หมู่บ้านมรดกโลกชิราคาวะและบริเวณโกคายามา ที่อยู่ใกล้กันเป็นหมู่บ้านชาวนาที่ตั้งอยู่ในหุบเขาตามลำน้ำ Shogawa ตามแนวสันเขาที่ทอดยาวตั้งแต่เขตจังหวัด Gifu ถึง Toyama ชิราคาวะโกะแห่งนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 1995 มีบ้านแบบกัสโชสึคุริ (Gassho-zukuri) เป็นบ้านชาวนาโบราณที่มีอายุมากกว่า 250 ปี

 
ทัวร์ญี่ปุ่น บ้านในแบบกัสโชสึคุริ (Gassho-zukuri) บ้านแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ชื่อนี้ได้มาจากคำว่า “กัสโช” ซึ่งแปลว่า “พนมมือ” ตามรูปแบบของบ้านที่หลังคาชันถึง 60 องศา มีลักษณะคล้ายสองมือที่พนมเข้าหากัน ตัวบ้านมีความยาวประมาณ 18 เมตร และมีความกว้าง 10 เมตร ซึ่งโครงสร้างของบ้านสร้างขึ้นโดยไม่ได้ใช้ตะปู อีกทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างต่างๆ ล้วนแต่มาจากวัสดุจากธรรมชาติ อย่างต้นหญ้าที่ปลูกไว้เพื่อนำมาใช้มุงเป็นหลังคาขนาดหนาแต่ยังคงความแข็งแรง จนสามารถรองรับหิมะที่ตกมาอย่างหนักในช่วงฤดูหนาวได้เป็นอย่างดี
 
หมู่บ้านชิราคาวะ
 
หมู่บ้านเหล่านี้ อยู่บนภูเขาในพื้นที่ห่างไกล บนพื้นที่ราบสูงฮิดะ (Hida) พื้นที่ของหมู่บ้านอยู่ท่ามกลางหุบเขา และธรรมชาติของใบไม้ที่ผลิใบสีเขียวสดใสในฤดูใบไม้ผลิ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงในฤดูใบไม้ร่วง และในฤดูหนาวที่หมู่บ้านถูกปกคลุมไปด้วยสีขาวหมดจดของหิมะ หมู่บ้านมีความเป็นมาและคงความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม ลักษณะของบ้านที่สร้างตามแบบเฉพาะนี้ มีหลังคาเป็นสามเหลี่ยมทรงสูงคล้ายลักษณะการพนมมือ โครงสร้างภายในจะเป็นหลายชั้น อาจเป็น 3 หรือ 4 ชั้น มีรายละเอียดพิถีพิถัน และมีลักษณะเฉพาะต่างกันออกไปตามการใช้งาน และแสดงถึงความชาญฉลาดของผู้ปลูกสร้าง และอยู่อาศัย ภายในจะมีผ้าไหมที่รอปูรองไว้เพื่อให้ความอบอุ่นเมื่อยามหน้าหนาวมาเยือน ที่พื้นบ้านในชั้นแรกหลังคาที่มีมุมประมาณ 60 องศา เพื่อให้หิมะไหลได้ง่ายป้องกันการทับถมของหิมะในยามที่หิมะตกหนักทัวร์ญี่ปุ่น
 
ฤดูหน้าในหมู่บ้านชิราคาวาโกะ
 
หมู่บ้านทางประวัติศาสตร์แห่งชิระกาวะและเมืองโกคายามา เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์แบบดั้งเดิมที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และพวกเขาก็สามารถปรับตัวได้อย่างประสบความสำเร็จ เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นเมื่อครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
 
ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ทัวร์ญี่ปุ่น บริเวณที่อยู่กลางภูเขาฮาคูซานนี้ ถูกใช้เป็นสถานที่ทางศาสนาสำหรับลัทธิบูชาภูเขา ที่รวมความเชื่อโบราณก่อนพุทธศาสนาและศาสนาพุทธลึกลับ ในศตวรรษที่ 13 ที่แห่งนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของนิกายเทนได และต่อมาโดยนิกายโจโดชินชู ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีบทบาทอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ คำสอนของนิกายโจโดชินชูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างทางสังคมของบนพื้นฐานของดินแดนนี้ โดยมีรากฐานมาจากระบบการรวมกลุ่ม ด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง
 
หมู่บ้านชิราคาวะ1
 
หมู่บ้านชิราคาวะ เคยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของตระกูลทาคายามะในช่วงยุคเริ่มต้นของสมัยเอโดะ แต่จากช่วงปลายศตวรรษที่ 17 จนถึงยุคฟื้นฟูสมัยเมจิในปี 1868 ที่ดินนี้ได้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยรัฐบาลทหารบาฟุคุ และต่อมา โกคายามาก็ถูกปกครองอยู่ภายใต้ตระกูลคานาซาวาตลอดยุคเอโดะ
 
เนื่องจากภูมิประเทศที่เป็นภูเขา การทำนาข้าวแบบดั้งเดิมจึงไม่ประสบความสำเร็จ เหล่าเกษตรกรจึงหันไปปลูกพืชอื่น เช่น บัควีทและข้าวฟ่าง ซึ่งปลูกได้ในฟาร์มขนาดเล็ก แต่ถึงอย่างนั้น การทำฟาร์มเช่นนี้ก็ยังให้รายได้สูงกว่าการระดับดำรงชีวิตเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้น ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กระดาษญี่ปุ่น ที่ทำจากเส้นใยปอสาซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ดินประสิวสำหรับการทำดินปืนและผลิตภัณฑ์ที่มาจากการเลี้ยงไหม แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 19 อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษก็เริ่มแย่ลง และการผลิตดินประสิวก็ได้สิ้นสุดลงในช่วงนั้นเอง เพราะมีการนำเข้าโพแทสเซียมไนเทรทหรือดินประสิวราคาถูกมาจากยุโรป อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไหมยังอยู่รอดต่อไปได้ จากศตวรรษที่ 17 จนถึงปีค.ศ.1970 ซึ่งความต้องการพื้นที่ปิดขนาดใหญ่สำหรับเตียงเลี้ยงไหมและการเก็บรักษาใบหม่อน เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาบ้านสไตล์ Gassho ของพื้นที่แห่งนี้
 
 
หมู่บ้านสไตล์ Gassho
 
ทัวร์ญี่ปุ่น บริเวณหมู่บ้านโอกิมาชิ ตั้งอยู่บนที่ราบขั้นบันไดทางตะวันออกของแม่น้ำโช บ้านส่วนใหญ่ของที่นี่จะปลูกแยกจากกัน โดยแบ่งตามแปลงพื้นที่การเพาะปลูก ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ที่ดินที่มีมาตั้งแต่โบราณ บนพื้นที่ลาดใกล้กับตีนเขา บ้านของที่นี่ตั้งอยู่ได้ด้วยกำแพงหินที่ยังอยู่ดีมาจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของบริเวณบ้าน จะถูกกำหนดโดยถนนช่องทางน้ำของแปลงเพาะปลูก ทำให้ภูมิทัศน์ของหมู่บ้านนี้เป็นพื้นที่เปิด ส่วนใหญ่แล้ว บ้านแต่ละหลังจะมีโครงสร้าง อย่างเช่น โกดังเก็บของที่มีกำแพงทำจากไม้และหลังคาฟาง ซึ่งมักจะห่างจากบ้านที่ใช้อยู่อาศัยเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดไฟไหม้ บ้านเหล่านี้จะถูกล้อมรอบด้วยทุ่งนา แต่ละหลังก็มีขนาดเล็กและรูปร่างไม่เท่ากัน
 
หมู่บ้านประวัติศาสตร์นี้ประกอบด้วยบ้าน 117 หลังและโครงสร้างอื่น ๆ อีก 7 แห่ง ในนี้มีอยู่ 6 หลังที่เป็นบ้านสไตล์ Gassho ที่ส่วนมากสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 ตั้งอยู่ในแนวเดียวกันขนานไปกับแม่น้ำโช ทำให้เห็นภูมิทัศน์อันแสนสงบและสวยงามจับใจ บ้าน 7 หลังมีโครงสร้างโดยใช้คาน ซึ่งสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 20 ในหมู่บ้านมีวัดแบบพุทธอยู่ 2 แห่ง คือ วัดเมียวเซนและวัดฮนคาคุ อีกทั้งยังมีเทพผู้ปกครองหมู่บ้านอยู่ในศาลเจ้าฮาชิมัน ซึ่งเป็นศาลเจ้าในลัทธิชินโต ตั้งอยู่ที่ตีนและล้อมรอบไปด้วยป่าสนซีดาร์
 

 
การร่วมมือช่วยกันของชาวบ้านในการทำหลังคาใหม่
การร่วมมือช่วยกันของชาวบ้านในการทำหลังคาใหม่
 
ชาวบ้านฉีดน้ำขึ้นไปบนหลังคาในหน้าร้อนเพื่อป้องกันไฟไหม้
ชาวบ้านฉีดน้ำขึ้นไปบนหลังคาในหน้าร้อนเพื่อป้องกันไฟไหม้
 
ทัวร์ญี่ปุ่น ทำเลที่ตั้งของซึกะนุมะ (Suganuma) จะคล้ายกับโอกิมาชิ (Ogimachi) และ อาอิโนะคุระ (Ainokura) ซึ่งสามารถมองเห็นแม่น้ำโชได้ แต่ซึกะนุมะนั้นมีขนาดเล็กกว่ามาก มีเพียง 8 ครอบครัวและประชากรแค่ 40 คน ในปัจจุบัน ยังคงมีบ้านสไตล์ Gassho อยู่จำนวน 9 หลัง ซึ่งสร้างขึ้นล่าสุดในปลายปี 1929 และดูเหมือนบ้านที่อิโนะคุระมากกว่าบ้านในโอกิมาชิ ทัวร์ญี่ปุ่น
 
หมู่บ้านสไตล์ Gassho2
 
จุดท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในการสัมผัสบรรยากาศคือการพักค้างคืนในหมู่บ้านชาวนา มีบ้านหลายหลังที่เปิดให้เป็นที่พักในแบบที่เรียกว่า Minshuku โดยเฉพาะที่ Ogimachi ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่สุดของชิราคาวาโกะ บ้านวาดะ (Wada) และ บ้านนางาเสะ (Nagase) ในโอกิมาชิ เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อที่จะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ว่าชาวบ้านดำรงชีวิตอย่างไรในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนสิงหาคมของทุกปี จะมีประเพณีลุยน้ำ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากที่ โกคายาม่า (Gokayama) มี หมู่บ้านอาอิโนะคุระ (Ainokura) ที่ซึ่งหมู่บ้านตั้งตระหง่านอยู่ท้ายขุนเขา และหมู่บ้านซึกะนุมะ (Suganuma) เป็นสิ่งล้ำค่าที่จะได้มาสัมผัสกับบ้านที่เป็นวัฒนธรรมอันเก่าแก่ และมีค่าของญี่ปุ่นนี้ จุดชมวิวของปราสาทโอกิมาชิ (Ogimachi) ได้รับความนิยมมากสำหรับการชมทัศนียภาพของหมู่บ้านชิราคาวะ จุดชมวิวนี้เหมาะมากกับการชมภาพมุมกว้างของหมู่บ้าน
 


Description
 
The historic villages of Shirakawa-go and Gokayama are outstanding examples of traditional human settlements that are perfectly adapted to their environment and their social and economic raison d’être and have adjusted successfully to the profound economic changes in Japan in the past half-century.
 
In the 8th century AD this area was opened up as a place for ascetic religious mountain worship, centred on Mount Hakusan, for an order that combined ancient pre-Buddhist beliefs with esoteric Buddhism. In the 13th century it came under the influence of the Tendai Esoteric sect, and then by the Jodo Shinshu sect, which is still influential in the area. Its teachings played an important role in the development of the social structure of the region, based on the kumi system of mutual cooperation between neighboring households.
 
Shirakawa-go was part of the territory of the Takayama Clan at the beginning of the Edo period, but from the late 17th century until the Meiji Restoration of 1868 it was under the direct control of the Edo Bakufu (military government). Gokayama was under direct rule by the Kanazawa Clan throughout the Edo period.
 
Because of the mountainous terrain, traditional rice-field production was not wholly successful in the area, and so the farmers turned to alternative grains such as buckwheat and millet, cultivated in small fields, but even with these the farming was at little higher than subsistence level. The few marketable products from the area were Japanese paper, made from the fibres of the paper mulberry, which occurs naturally in the area, nitre (calcium nitrate) for gunpowder production, and the basic products of sericulture (silkworms and raw silk thread). Paper production declined in the 19th century, and nitre production was brought to an end with the importation of cheap saltpetre from Europe at the same time. The silk industry survived longer, from the late 17th century until the 1970s; its requirement of large enclosed spaces for silkworm beds and storage of mulberry leaves was an important factor in the development of the gassho-style house.
 
The central part of Ogimachi is located on a terraced plateau east of the Sho River. Most of the houses are on individual lots separated by cultivated plots of land, reflecting traditional land use. On the sloping land near the base of the mountain the houses are on terraces supported by stone retaining walls. Their boundaries are defined by roads, irrigation channels or cultivated plots rather than walls or hedges, and so the landscape is an open one. Most have ancillary structures such as wooden-walled storehouses and grain-drying shelters, which are usually well away from the dwelling houses to minimize fire risk. The house lots are surrounded by irrigated rice fields and city-crop fields, also small and irregular in shape.
The designated group of historic buildings is composed of 117 houses and seven other structures. Of these, six are in the Gassho style, most built during the 19th century; they are all aligned parallel to the Sho River, giving a very harmonious and impressive landscape. Seven houses are post-and-beam structures with rafter-framed roofs, built in the 20th century and with an overall resemblance to the Gassho style. The village has two Buddhist temples, Myozen-ji and Honkaku-ji. The guardian deity of the village is housed in the Shinto shrine, Hachiman Jinja, situated at the base of the mountain and surrounded by a cedar grove.
 
Ainokura village is similarly located on a terraced plateau above the Sho River. Its layout is focused on the old main road. The houses and plots are broadly identical in form and size with those at Ogimachi. The group of historic buildings includes twenty gassho -style houses, most with a four-room square layout. The guardian deity of the village is housed in the Jinushi Jinja Shinto shrine, and the Buddhist centre is the Shonen-ji temple of the Jodo Shinshu sect.
 
The site of Suganuma is similar to those of Ogimachi and Ainokura, on a terrace overlooking the Sho River, but it is much smaller, with only eight households and a population of 40 people. Nine gassho houses survive, the most recent built as late as 1929. They resemble those of Ainokura rather than Ogimachi.
 
 
 

เที่ยวญี่ปุ่นไปกับเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น